วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศบรูไน



     บันดาร์เซอรีเบกาวัน
เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไน อยู่ในเขตการปกครองบรูไน-มูอารา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เสรีเบกาวัน


     เซอเรีย
เป็นเมืองศูนย์กลางของกิจการน้ำมันในประเทศบรูไนดารุสซาลาม ตั้งอยู่สุดทางของถนนสุดท้ายก่อนจะมีถนนแยกเข้าไปในรัฐซาราวัก ของประเทศมาเลเซีย เมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างเมืองตูตงกับเมืองกัวลาเบอไลต์ เซอเรียเป็นบริเวณที่พบบ่อน้ำมัน จึงเป็นที่ตั้งสถานีใหญ่ในการสูบน้ำมันชื่อ เชลล์บรูไน (Shell Brunei) กับเป็นที่ตั้งทหารที่มาทำหน้าที่อารักขาป้องกันบ่อน้ำมันบริเวณนี้ รวมทั้งป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของชาวต่างชาติที่มาทำงานให้โรงงานกลั่น น้ำมันในบรูไนตลอดเวลา สิ่งก่อสร้างที่สำคัญในเซอเรียคือ “อนุสาวรีย์พันล้านบาร์เรล” (Billionth Barrel Monument) ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานการผลิตน้ำมันครบ 1,000 ล้านบาร์เรล โดยคนเดินทางที่จะเดินทางเข้ามาเลเซียทางซาราวักจะต้องผ่านเมืองเซอเรีย

ที่มา: http://asean.skru.ac.th/

ทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของบรูไน



          น้ำมันที่เป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำเงินเข้าประเทศมากมายแล้ว บรูไนยังมีอุตสาหกรรมอย่างอื่นเช่น การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้าเพื่อส่งออกไปยัง อเมริกาและ ยุโรป ยังรวมถึงการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ด้านอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม เสื้อผ้า สิ่งทอ และ ของตกแต่งจากไม้ วัสดุก่อสร้างต่างๆที่ไม่มีส่วนประกอบของโลหะ
อุตสาหกรรมของบรูไน ประสบปัญหาอยู่บ้างเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน และ ช่างฝีมือมาช่วยในการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการของตลาด จำเป็นต้องพึ่งแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลักซึ่ง การเปิด ประชาคมอาเซียน นี้จะทำให้บรูไนได้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมไม่มากก็น้อย แต่ยังไงซะ สินค้าหลักของบรูไนก็ยังเป็นน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติซึ่งสร้างความมั่งคั่งเป็นอย่างมากให้กับพวกเขา ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกเขาก็ได้เตรียมปรับตัวในด้านอื่นมากมายอย่างเช่น อุตสาหกรรมป่าไม้ อาหารทะเล แร่ธาตุต่างๆ รวมไปถึงการเกษตรกรรม เพื่อที่จะสามารถทดแทนน้ำมันที่ลดลงเรื่อยๆในระยะยาว เป็นทางเลือกทางเศรษฐกิจของประเทศในอีกทางนึง บรูไน มีทหาร กรูข่า ประจำการเพื่อดูแลความปลอดภัยของสายการผลิตน้ำมัน เป็นจำนวนหลายพันนายเลยทีเดียว นับว่าเป็นอีกประเทศที่มีแรงขับเคลื่อนในภูมิภาค อาเซียนเป็นอย่างดีกับการพัฒนาต่อเนื่องโดยไม่มีปัญหาด้านเงินทุนและ การจัดการ




https://samita2039.wordpress.com







วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศบรูไน




     บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และการแต่งกาย ที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามด้วย เช่น

     สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ควรนุ่ง กระโปรงสั้น และใส่เสื้อไม่มีแขน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทาย จะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่ จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง

      การรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน โดยเฉพาะคู่เจรจาที่เป็นชาวมุสลิมควรระมัดระวังการสั่งอาหาร ที่เป็นเนื้อหมูและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากผิดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ไม่รับประทานเนื้อหมู และถือเป็นกฏที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในการห้ามดื่มสุรา อาจขอให้ คู่เจรจาชาวบรูไนช่วยเลือกร้านอาหาร ทั้งนี้บรูไนไม่มีวัฒนธรรมการให้ทิปในร้านอาหาร ในกรณีที่เป็น ร้านอาหารขนาดใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการ เพิ่มร้อยละ 10 อยู่แล้ว


ที่มา:http://www.ceted.org

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบเศรษฐกิจของประเทศบรูไน


  

 ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมัน ประมาณ 48% และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ43% นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย คือประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวันและผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งด้วยการนำรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่าน Brunei Investment Agency (BIA)ในรูปการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา


ที่มา: http://kmaec.com/