วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศบรูไน



     บันดาร์เซอรีเบกาวัน
เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไน อยู่ในเขตการปกครองบรูไน-มูอารา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เสรีเบกาวัน


     เซอเรีย
เป็นเมืองศูนย์กลางของกิจการน้ำมันในประเทศบรูไนดารุสซาลาม ตั้งอยู่สุดทางของถนนสุดท้ายก่อนจะมีถนนแยกเข้าไปในรัฐซาราวัก ของประเทศมาเลเซีย เมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างเมืองตูตงกับเมืองกัวลาเบอไลต์ เซอเรียเป็นบริเวณที่พบบ่อน้ำมัน จึงเป็นที่ตั้งสถานีใหญ่ในการสูบน้ำมันชื่อ เชลล์บรูไน (Shell Brunei) กับเป็นที่ตั้งทหารที่มาทำหน้าที่อารักขาป้องกันบ่อน้ำมันบริเวณนี้ รวมทั้งป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของชาวต่างชาติที่มาทำงานให้โรงงานกลั่น น้ำมันในบรูไนตลอดเวลา สิ่งก่อสร้างที่สำคัญในเซอเรียคือ “อนุสาวรีย์พันล้านบาร์เรล” (Billionth Barrel Monument) ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานการผลิตน้ำมันครบ 1,000 ล้านบาร์เรล โดยคนเดินทางที่จะเดินทางเข้ามาเลเซียทางซาราวักจะต้องผ่านเมืองเซอเรีย

ที่มา: http://asean.skru.ac.th/

ทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของบรูไน



          น้ำมันที่เป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำเงินเข้าประเทศมากมายแล้ว บรูไนยังมีอุตสาหกรรมอย่างอื่นเช่น การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้าเพื่อส่งออกไปยัง อเมริกาและ ยุโรป ยังรวมถึงการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ด้านอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม เสื้อผ้า สิ่งทอ และ ของตกแต่งจากไม้ วัสดุก่อสร้างต่างๆที่ไม่มีส่วนประกอบของโลหะ
อุตสาหกรรมของบรูไน ประสบปัญหาอยู่บ้างเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน และ ช่างฝีมือมาช่วยในการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการของตลาด จำเป็นต้องพึ่งแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลักซึ่ง การเปิด ประชาคมอาเซียน นี้จะทำให้บรูไนได้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมไม่มากก็น้อย แต่ยังไงซะ สินค้าหลักของบรูไนก็ยังเป็นน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติซึ่งสร้างความมั่งคั่งเป็นอย่างมากให้กับพวกเขา ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกเขาก็ได้เตรียมปรับตัวในด้านอื่นมากมายอย่างเช่น อุตสาหกรรมป่าไม้ อาหารทะเล แร่ธาตุต่างๆ รวมไปถึงการเกษตรกรรม เพื่อที่จะสามารถทดแทนน้ำมันที่ลดลงเรื่อยๆในระยะยาว เป็นทางเลือกทางเศรษฐกิจของประเทศในอีกทางนึง บรูไน มีทหาร กรูข่า ประจำการเพื่อดูแลความปลอดภัยของสายการผลิตน้ำมัน เป็นจำนวนหลายพันนายเลยทีเดียว นับว่าเป็นอีกประเทศที่มีแรงขับเคลื่อนในภูมิภาค อาเซียนเป็นอย่างดีกับการพัฒนาต่อเนื่องโดยไม่มีปัญหาด้านเงินทุนและ การจัดการ




https://samita2039.wordpress.com







วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศบรูไน




     บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และการแต่งกาย ที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามด้วย เช่น

     สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ควรนุ่ง กระโปรงสั้น และใส่เสื้อไม่มีแขน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทาย จะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่ จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง

      การรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน โดยเฉพาะคู่เจรจาที่เป็นชาวมุสลิมควรระมัดระวังการสั่งอาหาร ที่เป็นเนื้อหมูและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากผิดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ไม่รับประทานเนื้อหมู และถือเป็นกฏที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในการห้ามดื่มสุรา อาจขอให้ คู่เจรจาชาวบรูไนช่วยเลือกร้านอาหาร ทั้งนี้บรูไนไม่มีวัฒนธรรมการให้ทิปในร้านอาหาร ในกรณีที่เป็น ร้านอาหารขนาดใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการ เพิ่มร้อยละ 10 อยู่แล้ว


ที่มา:http://www.ceted.org

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบเศรษฐกิจของประเทศบรูไน


  

 ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมัน ประมาณ 48% และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ43% นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย คือประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวันและผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งด้วยการนำรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่าน Brunei Investment Agency (BIA)ในรูปการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา


ที่มา: http://kmaec.com/

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศบรูไน ดารุสซาลาม


ประเทศบรูไน เมืองหลวงคือ กรุงบันดา เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)


กรุงบันดา เสรี เบกาวัน เมืองหลวงของบรูไน

กรุงบันดา เสรี เบกาวัน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศบรูไน โดยเป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของประเทศ เป็นเมืองหลวงที่มีเนื้อที่ขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 100 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 100,000 คน ในสมัยการล่าอาณานิคมของประเทศฝั่งยุโรป เมืองนี้เคยตกอยู่ใต้การยึดครองของประเทศอังกฤษ โดยถูกเรียกว่าเมืองบรูไน ก่อนจะกลับมาใช่ชื่อ บันดา เสรี เบกาวัน ภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว


ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติบรูไยน ดารุสซาลาม

                                           บรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam)


“เสือโคร่ง” เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไน เสือโคร่งหรือเสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPantheratigrisในวงศ์ Felidaeจัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดด้วย (ขณะที่บางข้อมูลว่า บรูไน ไม่มีสัตว์ประจำชาติ)



ที่มา: https://sites.google.com

ตราแผ่นดินประเทศบรูไน ดารุสซาลาม



ตราแผ่นดินของบรูไน (มาเลย์: معطف من الأسلحة بروناي.) ใช้เครื่องหมายอย่างเดียวกับที่ปรากฏในธงชาติบรูไน เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2475ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 อย่าง คือ ราชธวัช (ธง) พระกลด (ร่ม) ปีกนก 4 ขน มือสองข้าง และซีกวงเดือนหรือพระจันทร์เสี้ยว ภายในวงเดือนซึ่งหงายขึ้นนั้น มีข้อความภาษาอาหรับจารึกไว้ ซึ่งแปลความได้ว่า "น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระอัลเลาะห์เสมอ" ("Always in service with God's guidance") เบื้องล่างสุดมีแพรแถบจารึกชื่อประเทศไว้ว่า บรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์: بروناي دار السلام) แปลว่า นครแห่งสันติ

สัญลักษณ์ต่างๆ มีความหมายดังนี้
ราชธวัช (Bendera) และพระกลด (Payang Ubor-Ubor) หมายถึง สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลาม (ของทั้งสองสิ่งนี้ นับเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามคติบรูไน)
ปีกนก 4 ขน (Sayap) หมายถึง การพิทักษ์ความยุติธรรม ความสงบ ความเจริญ และสันติสุขของชาติ
มือสองข้างที่ชูขึ้น (Tangan หรือ Kimhap) หมายถึง หน้าที่ของรัฐบาลที่จะยกระดับความมั่งคั่ง สันติสุข และความวัฒนาถาวรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
ซีกวงเดือนหงาย (Bulan) หมายถึง ศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาประจำชาติ


ที่มา: https://th.wikipedia.org

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

แหล่งท่องเที่ยวประเทศบรูไน

มัสยิดทองคำ (Jame Ar' Hassanil Bolkiah Mosque)


มัสยิดทองคำ Jame Ar' Hassanil Bolkiah Mosque ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1994 เพื่อเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงถึงการครองราชย์ครบ 25 ปี ขององค์สุลต่าน และมัสยิดแห่งนี้ยังยิ่งใหญ่และอลังการที่สุดในระเทศบรูไนด้วย จุดเด่นของมัสยิดทองคำ คือ หลังคาสีฟ้าน้ำทะเลที่มีโดมทองขนาดยักษ์ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าของตัวมัสยิดนั้นจะมีสระน้ำอยู่ ซึ่งดูคล้ายกับทัชมาฮาลในประเทศอินเดียทีเดียว 

อนุสาวรีย์น้ำมันหนึ่งล้านบาร์เรล (Billionth Barrel Monument)


ขี้นชื่อว่าเป็นประเทศส่งออกน้ำมันอันดับต้น ๆ ของโลก บรูไนจึงสร้างอนุสาวรีย์ Billionth Barrel Monument ขึ้นที่เมืองซีเรีย เพื่อเป็นการฉลองความมั่งคั่งของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ และที่สำคัญยังมีการขุดเจาะและค้นพบแหล่งน้ำมันอีกเรื่อย ๆ ด้วย ทั้งนี้ อนุสาวรีย์ Billionth Barrel Monument ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1991 เนื่องจากเป็นปีประวัติศาสตร์สำคัญที่บรูไนสามารถผลิตน้ำมันได้สูงถึง 1 พันล้านบาร์เรลนั่นเองค่ะ ถ้ามีโอกาสไปเยือนบรูไนก็อย่าลืมแวะเวียนไปถ่ายรูปกับสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งของประเทศนี้

 ย่านช้อปปิ้งของบรูไน


แน่นอนว่าอีกหนึ่งสีสันของทุกทริป คือ ย่านช้อปปิ้ง ที่นักท่องเที่ยวอยากจะได้ของประจำชาตินั้น ๆ ติดไม้ติดมือไปเป็นที่ระลึกและสำหรับเป็นของฝาก และที่บรูไนก็มีหลายย่านด้วยกัน ส่วนสถานที่ช้อป ปิ้งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ Yayasan Sultan Haji Hassanal Bolkiah Complex ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สขอบรูไน ที่มีสินค้าน่าสนใจมากมายหลากหลายราคา เช่น สินค้าพื้นเมือง, ของโบราณ ไปจนถึงคริสตัสและเครื่องประดับราคาแพงเลยค่ะ ที่สำคัญตัวคอมเพล็กซ์ยังงดงามไปด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว

อาหารประจำชาติบรูไน

อาหารประเทศบรูไน


      อัมบูยัต(Ambuyat)

มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก 

วิธีทาน
จะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบ ๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah
หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด
เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติต้องทานร้อน ๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว 





ที่มา:https://sites.google.com

การแต่งกายประเทศบรูไนดารุสซาลาม

การแต่งกายของประเทศบรูไนดารุสซาลาม




สำหรับ ชุดของผู้ชาย เรียกว่า Baju Melayu ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า Baju Kurung คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้า ที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง



ที่มา:https://sites.google.com

การเงินประเทศบรูไน

ระบบธนาคาร

เนื่องจากบรูไนไม่มีธนาคารกลาง ดังนั้นการกำกับดูแลระบบการเงิน การธนาคารจะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) โดยมีการแบ่งหน้าที่การดูแลไปยังฝ่ายต่างๆ อาทิเช่น คณะกรรมการด้านเงินตราของบรูไน (Brunei Currency Board) และฝ่ายด้านสถาบันการเงิน (Financial Institution Division) เป็นต้น ทั้งนี้ การกำกับดูแลภาคการธนาคารของบรูไนจะอยู่ภายใต้กฎหมายการธนาคาร และกฎหมายสถาบันการเงิน

ประเทศบรูไนมีธนาคารที่ให้บริการธุรกรรมทางการเงินครอบคลุมทุกกิจกรรมทางการเงินทั้งสิ้น 9 แห่ง โดยเป็นธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาอีก 1 แห่ง สำหรับธนาคารพาณิชย์ทั้ง 8 แห่งนั้น จะเป็นธนาคารท้องถิ่นอยู่ 2 แห่ง ขณะที่อีก 6 แห่งที่เหลือจะเป็นธนาคารของต่างชาติ เช่น Citibank, HSBC, Maybank, RHB Bank, UOB Bank และ Standard Chartered Bank


ที่มา:http://relocation.oie.go.th/

อาชีพเเละการส่งออกประเทศบรูไน


อาชีพของคนบรูไน ประชากรส่วนใหญ่ได้รับการจ้างงานจากรัฐบาล ส่วนที่เหลือจะประกอบอาชีพอิสระ เช่น การเพาะปลูก ประมง การผลิตอาหาร เครื่องอุปโภคและบริโภคในโรงงานขนาดเล็ก

สินค้าส่งออก บรูไนจัดอยู่ในประเทศที่ร่ำรวย เป็นผู้ส่งออกน้ำมันติดอันดับ 3 ของโลก สินค้าส่งออกหลักของบรูไน คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ส่งออกถึงร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด)โดยส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ประชากรของ บรูไนส่วนใหญ่เป็น คนมาเลเซียและคนจีน ส่วนหนึ่ง 75% ของประชากรมีอาชีพรับราชการ 25% ทำงานเอกชนและการค้า บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรป และอเมริกา 

สินค้าเข้าสำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องบินและเรือบรรทุกสินค้าขนาดเบา เหล็ก/เหล็กกล้าใช้ในการก่อสร้าง เครื่องมือในการเจาะ แยง ตอกและทำ สลักเกลียว ข้าวหอม วัสดุสิ่งทอ รถยนต์ขนาด 1500 – 2000 ซีซี ผ้าฝ้าย สายไฟฟ้า สายไฟชนิด optical fibre เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและผลไม้ โดยมีแหล่งนำเข้าสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย

ภาษาประจำชาติประเทศบรูไน


ภาษามลายูบรูไน (มาเลย์Bahasa Melayu Brunei) เป็นภาษาประจำชาติของประเทศบรูไนและเป็นภาษากลางในพื้นที่บางส่วนของมาเลเซียตะวันออก ภาษานี้ไม่ใช่ภาษาราชการของบรูไน (ซึ่งใช้ภาษามลายูมาตรฐานเป็นภาษาราชการ) แต่มีบทบาทสำคัญในสังคมและกำลังแทนที่ภาษาของชนกลุ่มน้อยภาษาอื่น ๆ ภาษามลายูบรูไนมีผู้พูดประมาณ 266,000 คน[1] พบในบรูไนประมาณ 215,000 คน (พ.ศ. 2527) ในบริเวณเมืองหลวงและตามแนวชายฝั่ง พบในประเทศมาเลเซียประมาณ 51,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือ เบอไลต์บน และบริเวณแม่น้ำตูเตาของรัฐซาราวักและในรัฐซาบาห์
ภาษามลายูบรูไนจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โปลินีเซีย สาขามาลาโย-ซุมบาวา สาขาย่อยมาเลย์อิก เช่นเดียวกับภาษามาเลเซียและภาษาอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากภาษาเกอดายันซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งในบรูไน จึงมีคำศัพท์หลายคำที่แตกต่างไปจากภาษามลายูมาตรฐาน

ที่มา:https://th.wikipedia.org

การเมืองการปกครองของประเทศบรูไน


ระบบสุลต่านบรูไน
รัฐบรูไนปกครองด้วยระบบสุลต่านนับตั้งแต่ปี 1363  จนถึงปัจจุบัน มีสุลต่านทั้งหมดจำนวน 30 องค์ โดยสุลต่านบรูไนองค์แรกคือ Sultan Muhammad Shah (1363-1402), สุลต่านองค์ที่ คือ Sultan Bolkiah (1485-1524), สุลต่านองค์ที่ 29 คือ Sultan Omar Ali Saifuddin III (1950-1967) และสุลต่านองค์ปัจจุบันคือ Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ปี1967 จนถึงปัจจุบัน.

การเมืองการปกครองของบรูไน
ประเทศบรูไนดารุสสาลามเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Mornachy ) ซึ่งมีหลักการว่า Melayu Islam Berraja ( MIB ) โดยองค์สุลต่านเป็นผู้นำของประเทศและเป็นผู้นำรัฐบาล ด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกลาโหม ได้รับการช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากสภาที่ปรึกษา และคณะรัฐมนตรีประเทศบรูไนไม่มีสภานิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2000 ทางองค์สุลต่านได้มีการประชุมเพื่อกำหนดรัฐสภา (Parliament) ซึ่งไม่เคยมีการจัดตั้งมานับตั้งแต่ปี 1984 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ด้านการป้องกันประเทศนั้น ทางบรูไนได้มีการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ โดยทางอังกฤษได้ส่งกลุ่มทหารเผ่ากรุข่า (Gurkha ) ซึ่งเป็นชนเผ่าของประเทศเนปาลได้ตั้งฐานอยู่ในประเทศบรูไน ตั้งอยู่ที่ Seria การป้องกันประเทศของบรูไนนับว่ามีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับความร่ำรวยของประเทศ ประเทศบรูไนเองก็มีส่วนในการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะSpratly ซึ่งมีประเทศมาเลเซีย ,จีน ,ไต้หวัน ,เวียดนาม ,ฟิลิปปินส์ร่วมอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะดังกล่าวด้วย

บรูไนแบ่งการปกครองออกเป็น   อำเภอ  คือ

1. Belait
เป็นอำเภอที่ใหญ่ที่สุดของบรูไน เป็นอำเภอที่อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศบรูไน มีเมืองเอกชื่อว่า Kuala Belait เมืองอื่นๆที่มีชื่อเช่น Badas, Kerangan, Nyatan, Labi, Lumut, Seria, Sukang และ Talingan อำเภอนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกติดกับอำเภอ Tutang และทางทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับประเทศมาเลเซีย
2. Brunei และ Muara 
เป็นอำเภอที่เล็กที่สุดของประเทศบรูไน ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ มีเมืองเอกชื่อว่า Bandar Seri Begawan ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบรูไนด้วย เมืองที่สำคัญมีเมือง Muara อำเภอนี้มีดินแดนทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนไต้ ทางทิศตะวันออกติดกับแหลมหรือ อ่าวบรูไน ทางทิศไต้ติดกับประเทศมาเลเซีย และทิศตะวันตกติดกับ Tutong และที่อ่าวบรูไนมีเกาะอีกหลายเกาะตั้งอยู่
3. Temburong
เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศบรูไน    อำเภอ Temburong เป็นอำเภอที่ค่อนข้างแปลก เพราะอำเภอนี้ถูกตัดขาดจากดินแดนของประเทศบรูไนมีเพียงอ่าวบรูไนเท่านั้นเป็นตัวเชื่อมระหว่างอำเภอ Temburong   กับส่วนอื่นๆของประเทศบรูไน    ดังนั้นเมื่อประชาชนประเทศบรูไนจากอำเภอ Temburong จะเดินทางไปยังอำเภออื่นๆของประเทศบรูไน       จึงมีทางเดียวเท่านั้นที่เป็นดินแดนเดียวกัน นั้นคือการเดินทางทางทะเล โดยผ่านอ่าวบรูไน    ส่วนการเดินทางทางบกนั้นจำเป็นต้องผ่านดินแดนของประเทศมาเลเซียส่วนที่เรียกว่า Limbang ดังนั้นประชาชนชาวบรูไนจากอำเภอ Temburong          ที่ต้องการเดินทางไปยังส่วนอื่นๆของบรูไนโดยผ่านLimbang จึงต้องใช้ Pasport ในการเดินทางดังกล่าว


4. Tutong
เป็นอำเภอหนึ่งของประเทศบรูไน มีเมืองเอกชื่อว่า Tutong ส่วนเมืองที่สำคัญอื่นๆเช่น Kuala Abang , Lamunin, Melit, Penanjong และTelisai อำเภอนี้มีเพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกกับอำเภอBrunei และMuara รวมทั้งประเทศมาเลเซีย ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับอำเภอ Belait

คณะรัฐมนตรีของประเทศบรูไน 
สุลต่านฮัสซันนัลบอเกียะห์ เป็นผู้นำของประเทศบรูไน ยังมีตำแหน่งอีก ตำแหน่งคือ นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง นอกจากนั้นตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของบรูไนดังนี้

                รัฐมนตรีอาวุโส ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คือ Pengiran Muda Haji Al –Muhtadee Billah องค์รัชทายาทของสุลต่านแห่งประเทศบรูไน
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนา
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนา
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรพื้นฐาน
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ,เยาวชน และการกีฬา
                - รัฐมนตรีว่าการพลังงานประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
                - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังคนที่ 2


รัฐธรรมนูญของประเทศบรูไน
                ประเทศบรูไนมีการใช้รัฐธรรมนูญตั้งแตปี 1959 และรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีการแก้ไขในปี 1971 และปี 1984 โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 1959 ได้กำหนดให้สุลต่านเป็นผูนำของรัฐโดยมีอำนาจสมบูรณ์ องค์สุลต่านมีผู้ช่วยและผู้ให้คำปรึกษาโดย สภา คือสภา ศาสนา (The Religious Council) สภาที่ปรึกษา( The Privy Council) สภารัฐมนตรี ( The Council of Ministers ), สภานิติบัญญัติ ( The Legislatif Council ) และสภาที่เรียกว่า The Council of Succession ซึ่งทำหน้าที่ในการเลือกสุลต่านองค์ใหม่ และภาระกิจอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 1959 นั้นกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งสูงในฝ่ายบริหาร โดยมีที่ปรึกษาชาวอังกฤษผู้มีตำแหน่งเป็นBritish High Commissioner ให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆยกเว้นกิจการเกี่ยวกับศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมลายู ต่อมามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในปี 1971 โดยอังกฤษมีอำนาจในการต่างประเทศ ส่วนกิจการความมั่นคงการป้องกันประเทศอยู่ในความรับผิดชอบของประเทศบรูไนและอังกฤษ และมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งเมื่อประเทศบรูไนได้รับเอกราช เมื่อ มกราคม 1984 โดยในปีดังกล่าวสุลต่านได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง,และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 1986 สุลต่านได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามรัฐธรรมนูญ 1959 การแต่งตั้งสมาชิกของสภาต่างๆ เป็นอำนาจของสุลต่าน โดยสภาศาสนาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม สภาที่ปรึกษา (องคมนตรี ) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการต่างๆตามรัฐธรรมนูญ สภานินติบัญญัติให้คำปรึกษาเพื่อให้รัฐธรรมนูญได้รับการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ แต่ความจริงแล้วสภานิติบัญญัติไม่มีการประชุมมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว 

พรรคการเมือง
จนถึงปัจจุบันประเทศบรูไนพรรคการเมืองยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก จนสามารถเรียกได้ว่าพรรคการเมืองของประเทศบรูไนไม่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศบรูไนเลย ในประเทศบรูไนจะมีเพียงพรรคการเมืองเล็กๆพรรคหนึ่งซึ่งแทบจะไม่มีบทบาททางการเมือง หรือทำกิจกรรมทางการเมืองในประเทศบรูไน พรรคดังกล่าวคือพรรคจิตสำนึกประชาชนบรูไน ( Parti Kesedaran Rakyat Brunei ) หรือ PAKAR และพรรคเอกภาพแห่งชาติบรูไน ( Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei ) หรือ PPKB ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเมื่อไม่นานมานี้เอง.

ระบบศาลยุติธรรมของประเทศบรูไน
                Mahkamah Besar Brunei Darussalam
 ศาลสูงสุดบรูไนดารุสสาลาม ได้มีการจัดตั้งขึ้นในปี 1963 ภายหลังจากที่มีการยุบศาลสูงสุดที่เรียกว่า Mahkamah Besar Sarawak, North Borneo dan Brunei เมื่อครั้งที่รัฐซาราวัคและรัฐซาบะห์ได้เข้าร่วมกับมาลายาและสิงคโปร์ในการจัดตั้งประเทศมาเลเซียในปี 1963
ในประเทศบรูได้มีหน่วยงานที่เรียกว่า Jabatan Kehakiman หรือ กรมศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการตัดสินคดีความโดยผ่าน ศาล Mahkamah Perantaraan, ศาล Mahkamah Tinggi, ศาล Mahkamah Mahkamah Rayuan, และ ศาล Mahkamah Majestret โดยศาลทุกศาลจะมีการว่าความกันที่ศาลในเมือง Bandar Seri Begawan, Kuala Belait, Tutong และ Temburong หน่วยงานที่เรียกว่า Jabatan Kehakiman นั้นนอกจากทำหน้าที่ดูแลศาลต่างๆแล้ว ยังเป็นหน่วยงานที่สำหรับยื่นเรื่องขอทำหนังสือพินัยกรรม รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับมรดกของผู้ที่เสียชีวิต รวมทั้งการเป็นสถานที่ดำเนินการรับรองการเป็นทนายความ
ศาลทั้งหมดจะตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาและคดีแพ่ง ส่วนใหญ่ของคดีจะดำเนินการที่ศาล Majistret จะมีเพียงคดีที่นอกเหนือจากอำนาจของศาล Majistret ก็จะมีการว่าความที่ศาลที่เรียกว่า Mahkamah Perantaraan และ ศาลที่เรียกว่า Mahkamah Tinggi
คำอุธรณ์จากศาล Majistret จะไปตัดสินในศาล Mahkamah Tinggi ส่วนคำอุธรณ์จากศาล Mahkamah Perantaraan และ ศาลMahkamah Tinggi จะไปตัดสินในศาล Mahkamah Rayuan
ศาล Mahkamah Rayuan ถือเป็นศาลสูงสุดในคดีความที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา ส่วนคดีความที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่งนั้นในกรณีทุกฝ่ายยินยอมสามารถยื่นคำอุธรณ์ต่อศาลที่เรียกว่า Privy Council ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ แต่ก่อนที่จะยื่นอุธรณ์ต่อ Privy Councilนั้นต้องมีการยื่นเรื่องต่อศาล Mahkamah Rayuan ก่อน นอกจากนั้นศาล Mahkamah Tinggi ยังมีอำนาจในการตัดสินคดีที่เกี่ยวกับการล้มละลายและการเลิก

กิจการของบริษัท (การปกครองของประเทศบรูไน.(2555).[online]เข้าถึงได้จาก http://nusantara-studies.blogspot.com/2009/02/blog-post_25.html. [2555,ธันวาคม 17])